Welcome to nCRC: National Clinical Research Center

ประกาศ

เนื่องจากระบบ nCRC อาจไม่สามารถทำงานได้ราบรื่นตามที่ควรจะเป็น เนื่องจากเมื่อนับถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 แล้วนั้น nCRC ได้เปิดใช้งานครบ 5 ปีเต็ม โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ใช้งาน แต่เนื่องจากโครงการนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการบำรุงรักษาระบบมาร่วมสองปี จึงอาจมีผลให้บางฟังก์ชั่นของระบบไม่สามารถใช้งานได้ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี่ที่เป็นฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์นี้ ได้เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งอาจขาดความเสถียรในการใช้งานอันเนื่องมาจากการทำงานของ Server ซึ่งปกติต้องมีผู้ดูแลระบบ ดังนั้น ในระยะจากนี้ต่อไป จึงขอให้ผู้ใช้งาน ทำการสำรองข้อมูลไว้นอกระบบเป็นระยะ เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นได้ จนกว่าผู้พัฒนาระบบจะสามารถหางบประมาณพอที่จะสามารถหาคณะทำงานบำรุงรักษาระบบ รวมทั้งพัฒนาต่อยอดให้ nCRC ให้สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ สำหรับสาธารณชนต่อไปอย่างยั่งยืนได้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ


(2018-2021)


แนะนำระบบสารสนเทศองค์กร ที่มีระบบวิจัยเป็นของตนเอง และอื่นๆ อีกมาก ในชื่อ Department Cloud


 [DPM_QuickGuide.pdf]


ระบบสารสนเทศสำหรับ คณะแพทยศาสตร์ หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

โรงพยาบาล .....................

รองรับภาระกิจ การเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ

ใช้งานในองค์กรหลักระดับคณะ/โรงพยาบาล ที่รองรับองค์กรย่อยระดับภาควิชา/แผนก ให้ทำงานอย่างเป็นอิสระ ตามสาขาความเชี่ยวชาญ

มีระบบจัดการแบบประเมิน ระบบ Journal club/Seminar/Conference และระบบ e-Logbook และอื่นๆ ครบครัน

มีเครื่องมือที่ครอบคลุมการเรียนการสอน การวิจัย และการให้บริการ ที่มีรูปแบบใช้งานแบบลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน ด้วยค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ต่ำกว่าจ้างเสมียนระดับต่ำกว่าปริญญาตรี



 

ภาพรวมระบบ DPM Cloud 

 

1.1 ประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้งาน

ภาควิชาในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย หรือแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลซึ่งเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกนั้น เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจองค์กร ซึ่งในที่นี้หมายถึงคณะหรือโรงพยาบาล ตามลำดับ องค์กรเหล่านี้เป็นองค์กรที่มีภารกิจครอบคลุมเรื่องการบริการผู้ป่วย การเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการ และการบริหาร แต่ระบบสารสนเทศที่มีอยู่ปัจจุบัน ยังไม่ครอบคลุมภารกิจเหล่านี้ เฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่เป็นโรงพยาบาล แม้มีระบบสารนเทศที่เรียกว่า HIS (Hospital Information System) นั้นอยู่แล้ว แต่มักจะรองรับเฉพาะภารกิจแรก คือการให้บริการทางการแพทย์ และมักมุ่งเน้นให้สามารถเบิกจ่าย e-Claim ได้ จึงยังไม่ครอบคลุม Clinical document อีกมากมายได้ ส่วนภารกิจอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมด ก็มักใช้หลากหลายระบบแบบแยกส่วนกัน หรือใช้ระบบฟรีบนอินเตอร์เน็ต เช่น Google ซึ่งยากต่อการจัดการข้อมูล และให้เป็นไปตาม พรบ. คุ่มครองข้อมูลส่วนบุคคล

DPM Cloud (Department Cloud) ได้รับการพัฒนาให้บูรณาการภารกิจที่กล่าวมาทั้งหมดไว้ในระบบเดียว เป็น Web application ที่สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกประเภทอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ พัฒนาบนฐานความรู้และประสบการณ์จากระบบสำหรับภาควิชาหนึ่งซึ่งได้ใช้งานมาแล้วร่วมทศวรรษ ซึ่งเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับในเวอร์ชั่นใหม่นี้ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยออกแบบให้สามารถประยุกต์ได้กับองค์กรใดๆ ก็ได้ที่มีองค์กรย่อยจำนวนมาก กล่าวคือเป็น Multi-site Organization เช่นหลายภาควิชาในคณะ หรือหลายแผนกในโรงพยาบาล โดยที่องค์กรย่อย (Site) เหล่านั้น มีความเป็นอิสระในการจัดการ Site ของตนเอง และมี Working Unit เป็นกลุ่มย่อยของ Site ลงไปอีกชั้นหนึ่งได้ 

ด้วยการที่ให้มี Database เดียวกันภายใต้ Server ที่ติดตั้งในคณะ/โรงพยาบาลนั้น นอกเหนือจากการลดภาระการบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายของแต่ละ Site แล้ว ยังเอื้อให้การทำงานร่วมกันหลาย Site หรือ Inter-departmental collaboration เป็นไปได้โดยสะดวก จึงตอบโจทย์เรื่องการเรียนการสอนชั้นคลินิก ที่นักศึกษาแพทย์ต้องหมุนเวียนไปเรียนในแต่ละ Site แต่ส่วนกลางจำเป็นต้องต้องเห็น Flow และพัฒนาการของทุกภาคส่วน เพื่อการติดตามและประเมินผล วางแผนและพัฒนาบนฐานข้อมูลที่มี โดยเก็บเกี่ยวมาจากกระบวนการปฏิบัติภารกิจขององค์กรย่อย

อนึ่ง การที่มี Database server เป็นขององค์กรและติดตั้งภายในองค์กรนั้น นอกเหนือจาก Privacy ที่ได้มาเต็มๆ และมีระบบที่ครอบคลุมทุกภารกิจขององค์กรโดยไม่ Fragmented อีกต่อไปแล้วนั้น ยังสามารถพัฒนาต่อยอดระบบโรงพยาบาลที่ใช้อยู่เดิม ให้มีในส่วนที่ยังไม่มี โดยใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วยเดียวกัน แต่ทำงานเป็นอิสระต่อกัน โดยไม่รบกวนระบบ HIS เดิมได้ เป็น Extended-HIS ที่เอื้อให้เก็บข้อมูล Clinical-related, CPG Implementation, Accreditation-related data, Op Note, Nurse note, Discharge summary รวมทั้ง โมดูลย่อยๆ เป็น Disease registry ต่างๆ ได้จำนวนมากตามสาขาความเชี่ยวชาญของแต่ละภาค/แผนก ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งทำวิจัย หรือสอน AI ที่จะนำเข้ามาติดตั้งใน Server ขององค์กรได้ในอนาคต 

นอกจากนั้น การที่ DPM Cloud ได้รับการพัฒนาโดยใช้ Builder tools ซึ่งไม่มีการเขียน hard code ลงในระบบซอฟต์แวร์ใดๆ จึงเอื้อให้ user สามารถแก้ไข ปรับแต่งระบบตั้งต้นที่มีมาให้นั้น ให้ตรงกับบริบทภาควิชา/แผนกได้เอง หรือสร้างโมดูลใช้งานขึ้นมาใหม่ ตามคู่มือการสร้างระบบที่มีให้ โดยไม่ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์ โดยที่การพัฒนานั้น สามารถทำผ่าน Web browser ได้เพราะไม่เขียน Hard code จึงปลอดภัยและหาผู้ช่วยพัฒนาได้ไม่ยากนัก 

ผลจากการพัฒนาด้วยแนวทางดังกล่าว ทำให้ไม่ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์ประจำองค์กร แม้ว่าระบบที่ต้องการ จะมีความซับซ้อนเพียงใด ก็สามารถว่าจ้างผู้ที่สามารถใช้ EzBuilder นี้ได้ ซึ่งทีมงานผู้พัฒนา DPM Cloud ก็มีอยู่แล้วในปัจจุบันร่วมร้อยคน ซึ่งพัฒนาเพิ่มตามความต้องการที่เพิ่มมาได้อีกไม่ยากนัก เพราะทักษะดังกล่าว ไม่ต้องมีทักษะระดับโปรแกรมเมอร์ ก็เรียนรู้และสร้างระบบขึ้นมาได้ เนื่องจากความซับซ้อนทางด้าน Programming นั้น ได้ถูกดูดซับด้วย Core Builder ไว้แล้วนั่นเอง 

การที่ DPM Cloud สามารถพัฒนาต่อยอดด้วย User แล้วเกิดระบบสารสนเทศใหม่ เติมเข้าไปในระบบเดิมได้อย่างไม่จำกัดนี้ ทำให้สามารถให้คำเต็มของ DPM ได้ว่าเป็น Digital Platform Manager ซึ่งเป็น SAAS: Software-as-a-service อีกรูปแบบหนึ่ง จึงทำให้ DPM Cloud มีระบบที่ทันต่อยุคสมัยให้ User ใช้งานเพื่อบรรลุผลเป้าหมายตามภารกิจที่รับผิดชอบได้ กลายเป็นฐานข้อมูลขององค์กร อยู่ใน Server ขององค์กรเอง ยิ่งนาน ยิ่งทรงคุณค่า ตกทอดให้บุคลากรรุ่นหลัง รุ่นต่อรุ่นให้ได้ใช้ประโยชน์และต่อยอดฐานข้อมูลเดิม ต่อยอดความรู้ ประสบการณ์ นำไปสู่การพัฒนาองค์กรต่อไปได้อย่างยั่งยืน

 

1.2 องค์ประกอบหลัก

DPM Cloud มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

  1. Home: เว็บไซต์หน้าแรก (ไม่ต้อง Login) เพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรสู่สาธารณะ มีกล่าวในบทที่ 2
  2. WorkBench: หน้าหลักในการใช้งานหลังจากสมาชิก Login เข้าใช้งานแล้ว มีกล่าวในบทที่ 3 กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทั้งระบบ DPM Cloud มีปุ่มหลักอยู่ปุ่มเดียวคือ [WorkBench] ที่ทำหน้าที่คล้ายปุ่ม Home ในโทรศัพท์มือถือ และใน WorkBench ก็มีรูปแบบคงที่ คือมี 4 แถบงาน ได้แก่
    • แถบ A: EzMenu                           เมนูที่สมาชิกทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้ (บทที่ 4)
    • แถบ B: EzModule                        โมดูลที่ฉันได้รับสิทธิ์ให้เข้าใช้งาน (บทที่ 5)
    • แถบ C: EzMail                             อีเมล์แจ้งพร้อมปุ่มคลิกเข้าทำงาน-เสิร์ฟงานให้ถึงโต๊ะ (บทที่ 6)
    • แถบ D: EzData Management      ฟอร์มที่ฉันได้รับสิทธิ์ให้บันทึกและจัดการข้อมูล (บทที่ 7) รวมทั้งผลการวิเคราะห์ทางสถิติเบื้องต้น
  3. Backend: ระบบจัดการเบื้องหลังทั้งหมด ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ
    • Settings เป็นระบบจัดการสมาชิก กล่าวคืออนุมัติการเป็นสามาชิก และจัดสิทธิ์การเข้าถึงเครื่องมือทำงานต่างๆ ให้กับสมาชิก (บทที่ 9) และตั้งค่าองค์กรทั้งก่อนเริ่มใช้งานระบบ และปรับปรุงแก้ไขระบบตามความต้องการองค์กรหลังจากนั้น (บทที่ 10)
    • EzBuilder Tools ประกอบด้วย EzForm และ EzModule มีแนวทางการใช้งานหลายมิติมาก (บทที่ xxx เป็นต้นไป)

 

1.3 จุดเด่นของ DPM Cloud

นอกเหนือจากการเป็น Web application ที่สามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา จากอุปกรณ์ใดๆ ที่ต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว จุดเด่นอื่นๆ ของ DPM Cloud มีดังต่อไปนี้

 

1.3.1 Give less, Get more: 

  • มีอัลกอริทึมที่ได้รับการออกแบบให้ลดภาระการคีย์ข้อมูล โดย
  • จัดการให้คีย์ข้อมูล record เดียว แล้วทุกคนที่ระบุเป็นผู้มีส่วนร่วมจะได้รับผลงานหรือภาระงาน เสมือนคีย์ข้อมูลด้วยตนเอง 
  • ระบบเดิมๆ ที่พอมีผลงานเกิดขึ้น เช่นหนังสือแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ในนั้นมีกรรมการ 60 คน ผู้เป็นต้นเรื่อง (ฝ่ายบริหาร) ก็เพียงส่ง eMail แนบสำเนาคำสั่งนั้นไปถึงผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง เพื่อทราบ เกิดสำเนาคำสั่ง 60 ชุด ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรรมการ โดยไม่มีการเก็บผลงานลงในรายงานใดๆ 
  • ระบบใน DPM Cloud คือเพียงคีย์ข้อมูลนั้นรายการเดียว ที่ระบุว่าใครเป็นกรรมการตำแหน่งใด แล้วส่ง EzMail จากนั้น ทั้ง 60 คน ที่เปิดอ่านและตอบรับ ก็จะได้รับผลงาน อยู่ในส่วน “การดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการต่างๆ” นั้น ทั้งใน PortFolio และ CV (Curriculum Vitae) ของตนเองโดยอัตโนมัติ เสมือนมีเลขาส่วนตัวทำงานให้
  • อีกทั้งยังมีรายงาน Real time ให้ผู้บริหารเห็นภาระงาน/ผลงาน ของบุคลากร ที่แต่ละรายการนั้นล้วนสามารถ Drill down ถึงแหล่งที่มาได้ 
  • นอกจากนั้น ยังมีรายงานสำหรับเผยแพร่ผลงานองค์กรออกสู่สาธารณะ
  • ผลจากการส่ง EzMail เพียงรายการเดียว (Give less) เกิดผลในรูปรายงาน และผลการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น โดยอัตโนมัติ จำนวนมาก (Get much, much, more)

1.3.2 Simplify by Roles: 

  • แม้ DPM Cloud มีระบบมากมายอันเนื่องมาจากที่ให้ครอบคลุมหลายภารกิจ แต่มีระบบจัดสิทธิ์ให้เข้าถึงเครื่องมือตามบทบาทหน้าที่ User จึงเห็นเท่าที่จำเป็นต้องใช้งาน

1.3.3 Shallow learning curve: 

  • ใช้เวลาสั้นในการทำความคุ้นเคยต่อการใช้งาน
    • มีเพียงเมนูเดียวหลัง Login คือ [WorkBench]
    • มีเพียง 4 แถบงานในเมนูนั้น ตามที่กล่าวข้างต้น ซึ่งคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง 

1.3.4 Resemble eMail Browser: 

  • หลังจาก Login แล้ว ก็ต้องเปิดเมนูเพื่อทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ
  • แต่บ่อยครั้ง เราก็ไม่ทราบว่าวันนี้มีงานอะไรเร่งด่วนที่จำเป็นต้องทำ เราจึงมักเปิด eMail อยู่เสมอ แล้วจึงตอบ หรือไปทำงานเพื่อนำผลงานมาตอบเมล์นั้น
  • ใน DPM Cloud นั้น งานจะถูกส่งมาจากผู้เป็นต้นเรื่อง ผ่าน EzMail Menu มาแสดงเป็นรายการในกล่องจดหมายรับเข้า [Inbox] คล้ายใน Inbox ของ eMail browser ที่เราคุ้นเคย (สามารถให้แจ้งผ่าน LINE ได้)
  • ใน Mail messages นั้น มี Action button และสรุปเนื้อหา 
  • คลิก Button ที่ Messages นั้นเพื่อเปิดทำงาน หากต้องตอบกลับ ใต้เนื้อหานั้นก็มี [+Add] ให้คลิกเปิดฟอร์มที่เกี่ยวข้องให้ทำงาน
  • สถานะของรายการ EzMail นั้น ก็เปลี่ยนจาก New เป็น Done 
  • ผู้เป็นต้นเรื่อง ก็สามารถดูผลการตอบรับได้จากกล่องจดหมายที่ส่งออก [Sent] 
  • ข้อมูลทุก record ที่เกิด จะถูกจัดเก็บเป็น EzMail Log ที่เป็นฐานข้อมูลสำคัญขององค์กร ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งในเวอร์ชั่นตั้งต้นนี้ และในอนาคต เช่น ใช้สอน AI เป็นต้น 

1.3.5 Self-customizable: 

  • มีระบบตั้งต้นมาให้ ซึ่งครอบคลุมภารกิจของภาควิชา/แผนก ที่องค์กรเป็นโรงเรียนแพทย์ ให้ใช้งานได้ทันทีหลังจากมีการปรับแต่งให้เข้ากับโครงสร้างองค์กรแล้ว ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์
  • กรณีองค์กรที่มีภารกิจต่างไป Admin ขององค์กรก็สามารถปรับแต่งได้เอง 
  • กรณีมีงานใหม่แล้วต้องการระบบสารสนเทศเพื่องานนั้น ก็สามารถพัฒนาเพิ่มเติมเข้าระบบได้เอง
  • กรณีระบบที่ต้องการจะพัฒนาขึ้นมาใหม่นั้นมีความซับซ้อน ก็สามารถขอรับบริการ โดยบุคลากรในองค์กรร่วมมือกับทีม DPM Developers ทำไป เรียนรู้แนวทางกันไป ในแบบ On-the-job training approach เพื่อให้บุคลากรขององค์กร สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาวได้

1.3.6 Self-editable: 

  • ทั้งระบบงานและเนื้อหา อยู่ในมือของบุคลากรองค์กร หาใช้โปรแกรมเมอร์ไม่
  • สมาชิกทุกคนที่ได้รับสิทธิ์ DPM Author สามารถสร้างและแก้ไขงานฟอร์มหรือโมดูลที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้นได้ทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มเติม หรือแก้ไขข้อมูลที่ตนเองได้รับสิทธิ์ให้เข้าถึงได้นั้น ได้ทั้งหมด 
  • สำหรับสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์ DPM Admin สามารถจัดการและแก้ไขระบบ DPM Cloud ในส่วนที่ไม่ทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ สำหรับในส่วนที่อ่อนไหวนั้น ก็ได้มีการแจ้งเตือนในคู่มือนี้ไว้แล้ว แต่หากสำคัญยิ่งยวด ก็เพียงเปิดให้เห็น เพื่อสามารถแจ้ง DPM Developer หากต้องการแก้ไขได้อย่างจำเพาะเจาะจง

1.3.7 No hard-coding: 

  • นอกจาก Core system ซึ่งมีความเสถียรและใช้งานมากว่า 20 ปีแล้วนั้น ก็ไม่มีส่วนใดที่โปรแกรมเมอร์ต้องเขียนรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในระบบอีกเลย  
  • ระบบ DPM Cloud สร้างขึ้นมาจาก EzBuilder โดยไม่มีการเขียน hard code ลง Server ของระบบ 
  • ผลดีคือ
    1. การแก้ไขปัญหา ที่อาจพบได้จากการใช้งานที่ไม่ตรงไปตรงมาตาม flow ที่ผู้สร้างกำหนด (bugs) จึงสามารถทำได้ง่าย 
    2. มีความปลอดภัยต่อระบบ และมีความเสถียร
    3. การเปลี่ยนผู้รับผิดชอบ อันเนื่องมาจากคน IT ที่มี Turn over rate ที่สูงนั้น จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ซึ่งต่างจากแบบเดิม ที่หากเปลี่ยน Developer แล้ว คนใหม่มา ก็มักจะเริ่มใหม่ เพราะต่างคนต่างลีลา
    4. ลดค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาต่อยอด หรือบำรุงรักษาระบบ
    5. ยั่งยืนกว่าการพึ่งพาทีม Developer ที่พัฒนาระบบในแ