Welcome to nCRC: National Clinical Research Center
ประกาศ
เนื่องจากระบบ nCRC อาจไม่สามารถทำงานได้ราบรื่นตามที่ควรจะเป็น เนื่องจากเมื่อนับถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 แล้วนั้น nCRC ได้เปิดใช้งานครบ 5 ปีเต็ม โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ใช้งาน แต่เนื่องจากโครงการนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการบำรุงรักษาระบบมาร่วมสองปี จึงอาจมีผลให้บางฟังก์ชั่นของระบบไม่สามารถใช้งานได้ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี่ที่เป็นฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์นี้ ได้เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งอาจขาดความเสถียรในการใช้งานอันเนื่องมาจากการทำงานของ Server ซึ่งปกติต้องมีผู้ดูแลระบบ ดังนั้น ในระยะจากนี้ต่อไป จึงขอให้ผู้ใช้งาน ทำการสำรองข้อมูลไว้นอกระบบเป็นระยะ เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นได้ จนกว่าผู้พัฒนาระบบจะสามารถหางบประมาณพอที่จะสามารถหาคณะทำงานบำรุงรักษาระบบ รวมทั้งพัฒนาต่อยอดให้ nCRC ให้สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ สำหรับสาธารณชนต่อไปอย่างยั่งยืนได้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
แนะนำระบบสารสนเทศองค์กร ที่มีระบบวิจัยเป็นของตนเอง และอื่นๆ อีกมาก ในชื่อ Department Cloud
ระบบสารสนเทศสำหรับ คณะแพทยศาสตร์ หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
โรงพยาบาล .....................
รองรับภาระกิจ การเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ
ใช้งานในองค์กรหลักระดับคณะ/โรงพยาบาล ที่รองรับองค์กรย่อยระดับภาควิชา/แผนก ให้ทำงานอย่างเป็นอิสระ ตามสาขาความเชี่ยวชาญ
มีระบบจัดการแบบประเมิน ระบบ Journal club/Seminar/Conference และระบบ e-Logbook และอื่นๆ ครบครัน
มีเครื่องมือที่ครอบคลุมการเรียนการสอน การวิจัย และการให้บริการ ที่มีรูปแบบใช้งานแบบลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน ด้วยค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ต่ำกว่าจ้างเสมียนระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
ภาควิชาในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย หรือแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลซึ่งเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกนั้น เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจองค์กร ซึ่งในที่นี้หมายถึงคณะหรือโรงพยาบาล ตามลำดับ องค์กรเหล่านี้เป็นองค์กรที่มีภารกิจครอบคลุมเรื่องการบริการผู้ป่วย การเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการ และการบริหาร แต่ระบบสารสนเทศที่มีอยู่ปัจจุบัน ยังไม่ครอบคลุมภารกิจเหล่านี้ เฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่เป็นโรงพยาบาล แม้มีระบบสารนเทศที่เรียกว่า HIS (Hospital Information System) นั้นอยู่แล้ว แต่มักจะรองรับเฉพาะภารกิจแรก คือการให้บริการทางการแพทย์ และมักมุ่งเน้นให้สามารถเบิกจ่าย e-Claim ได้ จึงยังไม่ครอบคลุม Clinical document อีกมากมายได้ ส่วนภารกิจอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมด ก็มักใช้หลากหลายระบบแบบแยกส่วนกัน หรือใช้ระบบฟรีบนอินเตอร์เน็ต เช่น Google ซึ่งยากต่อการจัดการข้อมูล และให้เป็นไปตาม พรบ. คุ่มครองข้อมูลส่วนบุคคล
DPM Cloud (Department Cloud) ได้รับการพัฒนาให้บูรณาการภารกิจที่กล่าวมาทั้งหมดไว้ในระบบเดียว เป็น Web application ที่สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกประเภทอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ พัฒนาบนฐานความรู้และประสบการณ์จากระบบสำหรับภาควิชาหนึ่งซึ่งได้ใช้งานมาแล้วร่วมทศวรรษ ซึ่งเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับในเวอร์ชั่นใหม่นี้ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยออกแบบให้สามารถประยุกต์ได้กับองค์กรใดๆ ก็ได้ที่มีองค์กรย่อยจำนวนมาก กล่าวคือเป็น Multi-site Organization เช่นหลายภาควิชาในคณะ หรือหลายแผนกในโรงพยาบาล โดยที่องค์กรย่อย (Site) เหล่านั้น มีความเป็นอิสระในการจัดการ Site ของตนเอง และมี Working Unit เป็นกลุ่มย่อยของ Site ลงไปอีกชั้นหนึ่งได้
ด้วยการที่ให้มี Database เดียวกันภายใต้ Server ที่ติดตั้งในคณะ/โรงพยาบาลนั้น นอกเหนือจากการลดภาระการบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายของแต่ละ Site แล้ว ยังเอื้อให้การทำงานร่วมกันหลาย Site หรือ Inter-departmental collaboration เป็นไปได้โดยสะดวก จึงตอบโจทย์เรื่องการเรียนการสอนชั้นคลินิก ที่นักศึกษาแพทย์ต้องหมุนเวียนไปเรียนในแต่ละ Site แต่ส่วนกลางจำเป็นต้องต้องเห็น Flow และพัฒนาการของทุกภาคส่วน เพื่อการติดตามและประเมินผล วางแผนและพัฒนาบนฐานข้อมูลที่มี โดยเก็บเกี่ยวมาจากกระบวนการปฏิบัติภารกิจขององค์กรย่อย
อนึ่ง การที่มี Database server เป็นขององค์กรและติดตั้งภายในองค์กรนั้น นอกเหนือจาก Privacy ที่ได้มาเต็มๆ และมีระบบที่ครอบคลุมทุกภารกิจขององค์กรโดยไม่ Fragmented อีกต่อไปแล้วนั้น ยังสามารถพัฒนาต่อยอดระบบโรงพยาบาลที่ใช้อยู่เดิม ให้มีในส่วนที่ยังไม่มี โดยใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วยเดียวกัน แต่ทำงานเป็นอิสระต่อกัน โดยไม่รบกวนระบบ HIS เดิมได้ เป็น Extended-HIS ที่เอื้อให้เก็บข้อมูล Clinical-related, CPG Implementation, Accreditation-related data, Op Note, Nurse note, Discharge summary รวมทั้ง โมดูลย่อยๆ เป็น Disease registry ต่างๆ ได้จำนวนมากตามสาขาความเชี่ยวชาญของแต่ละภาค/แผนก ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งทำวิจัย หรือสอน AI ที่จะนำเข้ามาติดตั้งใน Server ขององค์กรได้ในอนาคต
นอกจากนั้น การที่ DPM Cloud ได้รับการพัฒนาโดยใช้ Builder tools ซึ่งไม่มีการเขียน hard code ลงในระบบซอฟต์แวร์ใดๆ จึงเอื้อให้ user สามารถแก้ไข ปรับแต่งระบบตั้งต้นที่มีมาให้นั้น ให้ตรงกับบริบทภาควิชา/แผนกได้เอง หรือสร้างโมดูลใช้งานขึ้นมาใหม่ ตามคู่มือการสร้างระบบที่มีให้ โดยไม่ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์ โดยที่การพัฒนานั้น สามารถทำผ่าน Web browser ได้เพราะไม่เขียน Hard code จึงปลอดภัยและหาผู้ช่วยพัฒนาได้ไม่ยากนัก
ผลจากการพัฒนาด้วยแนวทางดังกล่าว ทำให้ไม่ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์ประจำองค์กร แม้ว่าระบบที่ต้องการ จะมีความซับซ้อนเพียงใด ก็สามารถว่าจ้างผู้ที่สามารถใช้ EzBuilder นี้ได้ ซึ่งทีมงานผู้พัฒนา DPM Cloud ก็มีอยู่แล้วในปัจจุบันร่วมร้อยคน ซึ่งพัฒนาเพิ่มตามความต้องการที่เพิ่มมาได้อีกไม่ยากนัก เพราะทักษะดังกล่าว ไม่ต้องมีทักษะระดับโปรแกรมเมอร์ ก็เรียนรู้และสร้างระบบขึ้นมาได้ เนื่องจากความซับซ้อนทางด้าน Programming นั้น ได้ถูกดูดซับด้วย Core Builder ไว้แล้วนั่นเอง
การที่ DPM Cloud สามารถพัฒนาต่อยอดด้วย User แล้วเกิดระบบสารสนเทศใหม่ เติมเข้าไปในระบบเดิมได้อย่างไม่จำกัดนี้ ทำให้สามารถให้คำเต็มของ DPM ได้ว่าเป็น Digital Platform Manager ซึ่งเป็น SAAS: Software-as-a-service อีกรูปแบบหนึ่ง จึงทำให้ DPM Cloud มีระบบที่ทันต่อยุคสมัยให้ User ใช้งานเพื่อบรรลุผลเป้าหมายตามภารกิจที่รับผิดชอบได้ กลายเป็นฐานข้อมูลขององค์กร อยู่ใน Server ขององค์กรเอง ยิ่งนาน ยิ่งทรงคุณค่า ตกทอดให้บุคลากรรุ่นหลัง รุ่นต่อรุ่นให้ได้ใช้ประโยชน์และต่อยอดฐานข้อมูลเดิม ต่อยอดความรู้ ประสบการณ์ นำไปสู่การพัฒนาองค์กรต่อไปได้อย่างยั่งยืน
DPM Cloud มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
นอกเหนือจากการเป็น Web application ที่สามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา จากอุปกรณ์ใดๆ ที่ต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว จุดเด่นอื่นๆ ของ DPM Cloud มีดังต่อไปนี้
1.3.1 Give less, Get more:
1.3.2 Simplify by Roles:
1.3.3 Shallow learning curve:
1.3.4 Resemble eMail Browser:
1.3.5 Self-customizable:
1.3.6 Self-editable:
1.3.7 No hard-coding: